WiFi 7 คืออะไร? ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยี WiFi
นวัตกรรมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายจะไม่มีความล่าช้าในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นทุกวัน เทคโนโลยี WiFi จึงต้องมีการพัฒนาความเร็วให้สูงขึ้น, ลดค่าลาเทนซีลง, และรองรับปริมาณการใช้งานเครือข่ายให้สูงมากขึ้น ด้วยวิธีการนี้ ทั้งการใช้งานเครือข่ายแบบส่วนตัวและแบบสาธาณะจึงต้องมีการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโตอย่างรวดเร็วและรองรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จากมาตรฐาน WiFi 6 ที่มีการเปิดตัวมาไม่นานานี้ นำมาสู่เทคโนโลยี WiFi 7 ที่ใกล้ถึงเวลาเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ในฐานะมาตรฐานของเทคโนโลยี WiFi รุ่นใหม่ ซึ่งWiFi 7 จะมีฟีเจอร์อะไรใหม่ ๆ ให้เราได้ใช้งานกันบ้าง? ทำไมเราจึงต้องใช้งาน WiFi 7? และจะสามารถเริ่มใช้งานได้เมื่อไหร่?
บทความนี้เราจะมาให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อตอบข้อสงสัยของคุณกัน
WiFi 7 คืออะไร? และ IEEE 802.11be คืออะไร?
WiFi 7 เป็นมาตรฐานของสัญญาณ WiFi ที่กำลังจะเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ และมีอีกชื่อที่รู้จักกันคือ IEEE 802.11be Extremely High Throughput (EHT) ซึ่งจะทำงานอยู่บนคลื่อนความถี่ 2.4 GHz, 5 GHz, และ 6 GHz ด้วยการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี WiFi 6 ทำให้ WiFi 7 มีแบนด์วิดท์ที่กว้างเป็นพิเศษ 320 MHz, 4096-QAM, Multi-RU, และ Multi-Link operation
ทำไมเราจึงต้องใช้งาน WiFi 7?
แม้ว่าเทคโนโลยี WiFi 6 จะสามารถเพิ่มความเร็วรับส่งได้มากขึ้น 37% จาก WiFi 5 แต่ก็ไม่ได้มีอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นมากเท่า WiFi 5 ที่สูงกว่า WiFi 4 ถึง 10 เท่า ซึ่งการพัฒนา WiFi 6 มีเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อมากกว่าการปรับปรุงความเร็วในการรับส่งข้อมูล หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือ WiFi 6 มีการพัฒนาให้ใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีปริมาณการใช้งานที่หนาแน่นได้ดีมากขึ้น แต่จะไม่มีความแตกต่างในเรื่องของความเร็วมากนัก
การใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ (เช่น การรับชมวิดีโอสตรีมมิ่ง 4K/8K ซึ่งต้องใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 20 Gbps, เทคโนโลยี VR/AR, ใช้งานอุปกรณ์สำนักงานจากระยะไกล, และระบบประมวลผลผ่านคลาวด์) จำเป็นต้องใช้งานเครือข่ายเป็นอย่างมากและค่าลาเทนซีที่ต่ำเป็นพิเศษ ซึ่งเกินความสามารถของ IEEE 802.11ax (WiFi 6) เพื่อรองรับการใช้งานที่สูงขึ้นในอนาคต IEEE จึงมีการออกมาตรฐาน IEEE 802.11be (WiFi 7) ขึ้นมา
เทคโนโลยี WiFi 7 มีการพัฒนาในส่วนใดบ้าง?
โปรเจกต์พัฒนา WiFi 7 หรือ 802.11be มีเป้าหมายในการปรับปรุงความสามารถในการับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น, รองรับการใช้งานที่สูงขึ้น, มีการรบกวนของสัญญาณที่น้อยลง, และรองรับการใช้งานแบบเรียลไทม์ (RTA) ได้มากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ คณะทำงาน 802.11 จึงมีการหารือกันเกี่ยวกับงานวิจัยต่าง ๆ กว่า 500 รายการเพื่อกำหนดเป็นแม่แบบของ WiFi 7 ใน 7 ทิศทางคือ : EHT PHY, EDCA with 802 TSN Features, Enhanced OFDMA, Multi-Link Operation, Channel Sounding Optimization, Advanced PHY Techniques, และ Multi-AP Cooperation หลังจากการประเมินและตรวจสอบเพิ่มเติม คำแนะนำด้านเทคนิคเหล่านี้ถูกจัดกลุ่มเป็นนวัตกรรม Physical Layer (PHY) และนวัตกรรมการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล (MAC)
- แบนด์วิดท์สูงถึง 320 MHz เพื่อการใช้งานที่ยืดหยุ่น
WiFi 6 สามารถขยายช่องสัญญาณ WiFi จาก 80 MHz ไปเป็น 160 MHz ทำให้มีช่องสัญญาณให้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ WiFi 7 ถือเป็นความก้าวหน้าไปอีกขึ้นคือมีการเพิ่มช่องสัญญาณจาก WiFi 6 ขึ้นเป็น 2 เท่า ช่วยชยายแบนด์วิดท์ไปถึง 320 MHz
WiFi 7 มีการเพิ่มโหมดแบนด์วิดท์ เช่น ช่องสัญญาณติดกัน 240 MHz, ช่องสัญญาณที่ไม่ติดกัน 160+80 MHz, ช่องสัญญาณติดกัน 320 MHz, และช่องสัญญาณที่ไม่ติดกัน 160+160 MHz ทำให้สามารถจัดสรรช่องสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความแออัดของคลื่นสัญญาณได้เป็นอย่างดี
- MU-MIMO 16 สตรีม
เพื่อตอบสนองปริมาณการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น จากอุปกรณ์ WiFi ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อุปกรณ์กระจายสัญญาณจงต้องมีการพัฒนาให้มีจำนวนเสารับส่งสัญญาณที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อปรับปรุงปรับปรุงความสามารถในการมัลติเพล็กซ์เชิงพื้นที่
WiFi 6 รองรับการทำงานพร้อมกันที่ 8 สตรีม ในขณะที่ WiFi 7 มีการเพิ่มจำนวนสตรีมให้มากขึ้นจาก 8 เป็น 16 สตรีม อัตราการส่งข้อมูลทางกายภาพตามทฤษฎีจึงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ WiFi 6
- 4K-QAM
เพื่อเพิ่มอัตราสูงสุดให้มากขึ้น WiFi 7 จึงใช้รูปแบบการมอดูเลตที่สูงกว่าด้วย: 4096-QAM ช่วยให้ในแต่ละเฟสของสัญญาณมีจำนวนบิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 12 บิต จากเดิมที่มีเพียง 10 บิต ซึ่งช่วยให้อัตราการรับส่งข้อมูลตามทฤษฎีที่สูงกว่า 1024-QAM ใน WiFi 6 ถึง 20%
ดยจะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น ด้วย 4096-QAM นี้ จะให้คุณสามารถรับชมวิดีโอความละเอียดสูง 4K หรือ 8K ที่สมบูรณ์แบบ, เล่นเกมออนไลน์ขนาดใหญ่โดยไม่สะดุด, หรือทำการสตรีมสดจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านคุณได้อย่างลื่นไหลมากยิ่งขึ้น
- Multi-RU & Preamble Puncturing
สำหรับ WiFi 6 ผู้ใช้งานแต่ละรายสามารถรับส่งข้อมูลได้เฉพาะในหน่วยทรัพยากรที่กำหนด (RU) ซึ่งจำกัดความยืดหยุ่นของการใช้งานทรัพยากรสเปกตรัมอย่างมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานสเปกตรัมให้ดียิ่งขึ้น WiFi 7 ช่วยให้สามารถกำหนดหน่วยทรัพยากรหลายรายการให้กับผู้ใช้รายเดียว สามารถรวมหน่วยทรัพยากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลได้
*เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความซับซ้อนและประสิทธิภาพของสเปกตรัม หน่วยทรัพยากรที่มีขนาดเล็ก (น้อยกว่า 242 โทน) สามารถใช้งานร่วมกันกับหน่วยทรัพยากรที่มีขนาดเล็กด้วยกันเท่านั้น ในขณะที่หน่วยทรัพยากรที่มีขนาดใหญ่ (มากกว่าหรือเท่ากับ 242 โทน) จะสามารถใช้งานร่วมกันกับหน่วยทรัพยากรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถใช้งานหน่วยทรัพยากรที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ร่วมกันได้
ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์กระจายสัญญาณกำลังส่งข้อมูลบนย่านความถี่ 80 MHz ที่สอง หากช่อง 56 ไม่ว่าง คลื่นสัญญาณนั้นจะไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ ข้อมูลจะถูกส่งผ่านช่องทางหลักเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยี Preamble Puncturing การรบกวนจะถูกบล็อก และช่องสัญญาณ 20 MHz อีกสามช่องสามารถใช้เพื่อปรับปรุงการใช้ช่องสัญญาณได้
- Multi-Link Operation
Multi-Link Operation (MLO) ให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลผ่านคลื่นความถี่และช่องสัญญาณที่แตกต่างกันได้พร้อมกัน ด้วยเทคโนโลยีนี้จะช่วยเพื่มความสามารถในการทำงานที่สูงขึ้น, ลดค่าลาเทนซีลง, และเพิ่มความเสถียรให้มากขึ้น รอบรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น VR/AR, เล่นเกมออนไลน์, ควบคุมอุปกรณ์สำนักงานจากระยะไกล, และระบบประมวลผลผ่านคลาวด์
อุปกรณ์ WiFi ทั่วไปจะมีการเชื่อมต่อคลื่นสัญญาณเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และตัวกระจายสัญญาณเพียงคลื่นสัญญาณเดียว ด้วยเทคโนโลยี MLO ที่มีใน WiFi 7 จะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อคลื่นสัญญาณเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และตัวกระจายสัญญาณได้หลายคลื่นสัญญาณพร้อมกันเพื่อปรับปรุงเส้นทางการเชื่อมต่อให้ดีขึ้นและปรับบาลานซ์ในการรับส่งข้อมูล
เทคโนโลยี WiFi 7 ตะมีการเปิดตัวเมื่อไหร่ และเราจะมีเราเตอร์ WiFi 7 พร้อมใช้งานเมื่อไหร่?
ในเดือนพฤษภาคมปี 2021 IEEE ได้ออกแบบร่างของมาตรฐานเทคโนโลยี WiFi 7 เวอร์ชัน 1.0 และมีการออกแบบร่างของมาตรฐานเวอร์ชัน 2.0 ในเดือนมีนาคมปี 2022 ที่ผ่านมา หากเป็นไปตามมาตรฐาน WiFi ก่อนหน้านี้ ผู้จำหน่ายชิปเซ็ตจะเตรียมตัวการออกแบบผลิตภัณฑ์ และพัฒนาชิปเซ็ตตามแบบร่างของมาตรฐานในเวอร์ชันที่ออกมา และ ณ ปัจจุบัน ผู้ผลิตบางรายเริ่มมีการโปรโมตเกี่ยวกับเทคโนโลยี WiFi 7 แล้ว ดังนั้นผลิตภัณฑ์ WiFi 7 จึงคาดว่าจะมีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดในประเทศไทยช่วงต้นปี 2024 ที่จะถึงนี้
เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง WiFi 7 และ WiFi 6
WiFi 6 |
WiFi 6E |
WiFi 7 |
|
วันเปิดตัว |
2019 |
2021 |
2024 (คาดการณ์) |
มาตรฐาน IEEE |
802.11ax |
802.11be |
|
อัตราความเร็วสูงสุด |
9.6 Gbps |
46 Gbps |
|
คลื่นสัญญาณ |
2.4 GHz, 5 GHz |
6 GHz |
2.4 GHz, 5 GHz, 6 Hz |
ขนาดช่องสัญญาณ |
20, 40, 80 80+80, 160 MHz |
Up to 320 MHz |
|
Modulation |
1024-QAM |
4096-QAM |
|
MIMO |
8×8 UL/DL MU-MIMO |
16×16 UL/DL MU-MIMO |
ประโยชน์ของ WiFi 7
ในฐานะเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย WiFi 7 ได้มอบคุณประโยชน์ในการใช้งานดังนี้
- สามารถรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้นถึง 46 Gbps
- ค่าลาเทนซีลดลง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณ
- รองรับจำนวนอุปกรณ์มากขึ้น
- มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่มากขึ้นแม้มีความแออัดของเครือข่าย
WiFi 7 จะมาช่วยอะไรเราได้บ้าง?
ด้วยความสามารถในการรองรับการใช้งานที่สูงขึ้น, ค่าลาเทนซีที่ลดลง, และมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น WiFi 7 จะช่วยให้คุณสามารถใช้งานในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น :
- การรับชมวิดีโอสตรีมมิ่ง 4K/8K (ซึ่งปรกติจะใช้ความเร็วสูงถึง 20 Gbps)
- เข้าชม เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (VR), เทคโนโลยีจำลองเสมือน (AR), และเทคโนโลยีจำลองเสมือนแบบผสมผสาน (XR)
- ควบคุมอุปกรณ์สำนักงานจากระยะไกล, การทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์, ประชุมออนไลน์ทางไกล
- ระบบ Cloud/Edge Computing
- ระบบ Cloud gaming
- ระบบ IoT ระดับอุตสาหกรรม
- โลก Metaverse
จากการเป็นผู้จัดจำหน้ายอุปกรณ์เครือข่าย WiFi อันดับ 1 ต่อเนื่อง 12 ปีซ้อน TP-Link ได้ก้าวทันเทคโนโลยี และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ WiFi 7
WiFi 7 แตกต่างจาก WiFi 6 อย่างไร?
อุปกรณ์เราเตอร์ WiFi 7 เร็วขนาดไหน?
ทำความรู้จักกับ WiFi 7 : 4K-QAM คืออะไร?
มารู้จักกับ แบนด์วิดท์ 320 MHz?